การเคลื่อนไหวทางการเมือง ของ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล

หลังจากปี พ.ศ. 2558 เธอมีบทบามร่วมกับเครือข่ายหลายกลุ่มของนักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งกิจกรรมชุมนุม รวมไปถึงกิจกรรมเสวนาต่าง ๆ[7][8]

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เธอถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบจับกุมตัว ภายในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ในความผิดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จากการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม[9] มีคดีแรกในชีวิต เนื่องจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองคือคดี ‘ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน’ และได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว[10]


ภัสราวลีเป็นหนึ่งในแกนนำที่นำมวลชนซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อกลุ่มว่า "คณะราษฎร 2563" เดินจากบริเวณแยกสามย่านไปที่สถานทูตเยอรมนี ถ.สาทร เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563[11] 5 พฤศจิกายน เดินทางมาที่ สถานีตำรวจนครบาล (สน.) ทุ่งมหาเมฆ ตามหมายเรียกความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116[12][13] 27 พฤศจิกายน เธอได้ฟ้องคดี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ข้อหาละเลยปฎิบัติงานต่อหน้าที่นายกรัฐมนตรี[14] ต่อมา 30 พฤศจิกายน ได้รับหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในฐานความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ โดยให้มารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.บางโพ[15]

วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564 เธอกล่าวว่า ในฐานะเราประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ การพูดถึงสถาบันกษัตริย์นั้น เราควรจะต้องพูดถึงได้ทั้งในแง่ของการสรรเสริญและในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์ นี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไทยตามระบอบประชาธิปไตยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ[16][17][18] ต่อมาเดินทางมารายงานตัวตามที่อัยการนัดฟังคำสั่งคดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี ซึ่งถูกแจ้งข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และยุยงปลุกปั่นฯ มาตรา 116 รวมถึงข้อหาอื่นๆ[19][20]

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 มายด์ แกนนำม็อบที่เรียกตัวเองว่า ราษฎร โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า มายด์ได้รับผลตรวจ โควิด-19[21][22][23]

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 นัดฟังคำสั่งในคดีที่พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ นำสำนวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้อง[24] หลังถูกดำเนินคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.โรคติดต่อ และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ จากกรณีปราศรัยคาร์ม็อบ1สิงหา จ.สระบุรี ก่อนที่ต่อมา ศาลจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว[25] ต่อมาเธอเดินทางเข้ารับทราบข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในคดีชุมนุม #ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์2 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 และ ที่ สน.นางเลิ้ง “ฟิวส์” เยาวชนอายุ 16 ปี ก็ได้เดินทางเข้ารับทราบ 6 ข้อหา จากการร่วมชุมนุม #ม็อบ16สิงหา ทะลุฟ้าไล่ล่าทรราช[26]

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ซ.63 พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง[27]

วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลแขวงดุสิตพิพากษายกฟ้องเธอตามข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากการชุมนุม #21ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ชี้ชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ[28][29] ต่อมาศาลจึงยกฟ้อง[30] ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[31]

วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565 ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ และ ปิยรัฐ จงเทพ หรือโตโต้ เข้ายื่นหนังสือต่ออัยการสูงสุด เพื่อขอให้ยุติไม่อุทธรณ์คดี[32] ย้ำถึงการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองไว้และการมายื่นหนังสือต่ออัยการครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะให้ความเป็นธรรมยังคงอยู่กับประชาชนต่อไป[33]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล http://www.instagram.com/mindpat.t/ https://thestandard.co/mind-pasara-wali-to-report-... https://thestandard.co/pasarawale-report-herself-a... https://thestandard.co/passaralee-piyarat-file-the... https://thestandard.co/reform-is-not-an-abolitioni... https://thestandard.co/video-mind-pasara-wali-this... https://www.bangkokbiznews.com/politics/903945 https://www.bangkokbiznews.com/politics/940023 https://www.bbc.com/thai/thailand-56506509 https://www.bbc.com/thai/thailand-56506819